วันนี้ผมมีปัญหาเกี่ยวกับ Weekly report เขียนไปเขียนมา งง ว่าเวลาไหนผมจะใช้ verbs แบบไหน เลยต้องกลับมานั่งทบทวนกันอีกครับ ผมอ้างอิงหนังสือที่ชื่อว่า Advanced English Grammar for high learning. แฮะๆ มันเป็นหนังสือสำหรับนักเรียนที่อยู่ ม. ปลาย (ชอบเด็ก ม.ปลาย) บอกตรงๆว่าหนังสือเล่มนี้อ่านแล้ว งงๆ ภาษาที่ใช้ อาจารย์เค้าแปลให้เป็นภาษาไทยมากจนเกินไป เช่น
Transitive verb = สกรรมกริยา
Intransitive verb = อกรรมกริยา
ให้ตายเหอะ ผมต้องไปหาความหมายต่ออีกว่าไอ้ คำว่า สกรรม / อกรรม กริยา มันแปลว่าอะไร (สรุปว่ากูต้องมาแปร ต่ออีกใช้มั๊ยเนี้ย…) แต่ ก็ชั่งเหอะ มาว่าเรื่อง verbs ต่อดีกว่า
Verbs มีด้วยกันทั้งหมด 5 ชนิดคือ
- Transitive verb คือ verb ที่ต้องการกรรมารองรับถึงจะทำให้ประโยคสมบูรณ์ เช่น
Aoddy love Da. (She is pharmacist. 😀 ) ถ้าเจ้ แกมาอ่านเจอ …จ๊าก (เขินหว่ะ)
Love is transitive verb, if this sentence doesn’t has object (Da). Sentence doesn’t complete. - Intransitive verb คือ verb ที่ไม่ต้องการกรรมมารองรับก็สามารถที่จะทำให้ประโยคสมบูรณ์ เช่น
Aoddy run very fast.วิ่งเร็วมาก…ไม่ต้องมี object ก็รู้ว่าวิ่ง - Finite verb คือ กริยาที่นำมาใช้เป็นส่วนสำคัญ ที่จะทำให้ประโยคสมบูณ์ คือถ้าขาดกริยาแท้ไปก็จะไม่สามารถเป็นประโยคได้ว่า งั้นเหอะ ดูๆ ไป ไอ้ Transitive&Intransitive ก็จะอยู่ใน Finite verb เหมือนกันนะเนี้ย
- Non-Finite verb คือกริยาที่ถูกนำมาใช้เป็นคำอื่นบ้าง เช่น คำนาม, adjective, adverb โดยจะแบ่งย่อยออกได้อีก 3 ชนิดคือ
- Infinitive คือ กริยาที่มี to นำหน้าแล้วตามด้วย Verb ช่องที่ 1 เช่น
Aoddy wants to improve his English skill. - Gerund คือ กริยาที่เติม ing แล้วทำหน้าที่เป็น คำนาม เช่น
Aoddy likes playing guitar. - Participle คือ กริยาที่เติม ing เช่น eating, coming หรือ กริยาที่เป็น verb ช่องที่ 3 (เหอะๆๆ งง หว่ะ)
- Infinitive คือ กริยาที่มี to นำหน้าแล้วตามด้วย Verb ช่องที่ 1 เช่น
- Auxiliary verb คือ กริยาช่วยนั่นเอง พวก is, am, are, do, does, did etc. พูดง่ายๆ ก็คือ กริยาที่ช่วยให้กริยาตัวอื่นเพื่อให้ประโยคนั้นกลายเป็นประโยคคำถาม ปฏิเสธ หรือให้ประโยคมีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ ที่อยู่ในอดีต,ปัจจุบัน และอนาคต
อ่า หลังจากที่รู้จัก verb กันไปแล้ว แต่บางที่เวลาเอาไปใช้จริง มันก็จะมีเงื่อนไขต่างๆ อีกมากมาย ผมก็เลยนั่งอ่านต่อไปอีกนิดก็พบ ว่าบางครั้งบางเหตุการณ์เราจำเป็นต้องดัดแปลง verb ให้เข้ากับสถานการณ์ อีกด้วย เช่น
- Verb to be ถ้าวางไว้หน้า infinitive verb มันจะมีความหมายเป็นนัยๆ ว่า “จะ, จะต้อง” คืออะไรๆ ที่คิดไว้ว่าจะทำในอนาคต หรือ แผนการต่างๆ ว่างั้นเหอะๆ
Aoddy is to stay here till his girlfriend pardons to him. (อุ๊บ !!) - ในประโยคคำสั่ง , อวยพร ที่นำหน้าด้วย Adjective ต้องใช้ Be นำหน้าเสมอ
Be good luck in your marry. - เยอะเนาะ..เดี๋ยวจะมาเล่าต่อละกัน..