CISCO DISCOVERY PROTOCOL [CDP]
แปลตามชื่อก็คือ โปรโตคอลของ CISCO ที่ทำหน้าที่หาข้อมูลพื้นฐานของ Router&Switch ที่ต่ออยู่ข้างๆ โดยในการค้นหาข้อมูลนั้นไม่ต้องใช้ Password ซึ่งโดยทั่วไปจะ Support ทั้ง LAN, HDLC, Frame Relay และ ATM Interface แต่จะว่าไปมันรองรับหมดครับ ถ้า Interface เหล่านั้นใช้ SNAP Header
CDP นั้นสามารถค้นหา Switch&Router ได้ทั้ง Layer2&3 โดยที่ Layer 3 ไม่ต้อง Config อะไรเพิ่มเติมเลยเพราะ CDP ไม่ได้ใช้ส่วนไหนที่จำเพาะเจาะจงของ Layer 3
CDP ในตอนแรกนั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อหาข้อมูลระหว่าง Router ที่อยู่ติดกันเท่านั้น แต่ปัจจุบัน อุปกรณ์ CISCO ที่เป็นทั้ง Router&Swicth ได้ Support CDP เรียบร้อยแล้วทั้งหมด
ในการทำงานของอุปกรณ์ที่รองรับ CDP นั้น มันจะทำการอ่านข้อมูลจาก อุปกรณ์ที่รองรับ CDP ที่อยู่ข้างๆ (CDP ใช้ multicase ในการส่งและรับข้อมูลในระดับ Data Link Layer)แล้ว เมื่ออ่านมาแล้ว มันก็จะส่งข้อมูลต่อไปยัง อุปกรณ์ตัวอื่นๆ เช่นกัน นั่นหมายความว่า CDP จะมีการ Share ข้อมูลเหล่านั้นให้แก่กันด้วย
สำหรับข้อมูลที่ CDP ส่งให้แก่กันนั้นมีดังนี้
- Device Identifier คือ ชนิดของ Host name อุปกรณ์เหล่านั้น
- Address List คือ Network&Data-Link Address ของอุปกรณ์ที่อยู่ข้างๆ
- Port Identifier คือ ข้อความที่บอก Port เพื่อใช้ Connect ไปยัง Interface อันอื่น (ในอุปกรณ์เหล่านั้นจะมี หลายๆ interface)
- Capabilities List คือ ข้อมูลที่บอกว่า อุปกรณ์เหล่านั้นเป็นอะไร เช่น บอกว่าเป็น Router , Switch
- Platform คือ ข้อมูลที่บอกว่าเป็น Model อะไร Run ที่ OSI level ที่เท่าไหร่
สำหรับ CDP นั้นจะถูก Enable โดย Default อยู่แล้ว หากต้องการให้หยุดการทำงานของ CDP ของอุปกรณ์เหล่าก็สามารถใช้คำสั่ง ได้ดังนี้
no cdp run
หากต้องการให้ CDP กลับมาใช้งานอีกครั้งก็สามารถทำได้โดย
cdp run
แต่ถ้าหากเราเข้าไป Disable เฉพาะ Interface ก็สามารถใช้
no cdp enable
หากต้องการให้ Interface นั้นกลับมาใช้งาน CDP เหมือนเดิมก็จะใช้
cdp enable
สำหรับ cdp enable นี้เมื่อใช้แล้ว CDP จะถูก Switch กลับไปยัง Default State เริ่มต้นของ CDP
นอกจากนี้ ก็ยังมี คำสั่ง
show cdp ?
entry Information for specific neighbor entry
interface CDP interface status and configuration
neighbors CDP neighbor entries
traffic CDP statistics
| Output modifiers
ลองไปใช้ดูละกันครับผม
——————————————
ขอเพิ่มเติมครับ
HDLC : High-Level Data Link Control คือ การที่ข้อมูลบนชั้น Link Layer Protocol มีกระบวนการ Encapsulation บน serial link โดยใช้ Frame characters และ มีการ checksums.
โย้ว ช่าย อ๊อด ป่าว
หน้าตาหล่อๆ แบบนี้ มีคนเดียวในโลก อยู่แล้วครับ… 😀
ว่าแต่ คุณเป็นไผ่ เหรอ ครับ…. 🙂